วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง

สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง (50160)
โทร. 0-5334-1268 ,0-5334-1250 โทรสาร 0-5334-1269

สถานที่ตั้ง(แผนที่) (ค้นหาเส้นทาง)
ถนนเชียงใหม่- ฮอด อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
เขตพื้นที่รับผิดชอบ
อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด อำเภอดอยเต่า
อำเภออมก๋อย และอำเภอดอยหล่อ
เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด (สาขา)
โทร. 0-5334-1269
หัวหน้าฝ่ายทะเบียน
โทร. 0-5334-1268
หัวหน้าฝ่ายรังวัด
โทร. 0-5334-1250
หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ
โทร. 0-5334-1268

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การขออนุญาตทำการค้าที่ดิน

การขออนุญาตทำการค้าที่ดิน

ผู้ขออนุญาตทำการค้าที่ดินยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ พร้อมหลักฐานและค่าธรรมเนียม ดังนี้

1. ผู้ขออนุญาต
1.1 บุคคลธรรมดา
- บัตรประจำตัว
- สำเนาทะเบียนบ้าน
1.2 นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือ นิติบุคคลอื่น
- เอกสารก่อตั้งนิติบุคคล
- หนังสือสำคัญการให้อำนาจทำการแทนนิติบุคคล
- หนังสือบริคณห์สนธิ
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น โดยแสดงสัญชาติและจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นทุกคนที่นายทะเบียนพาณิชย์รับรองแล้วในปัจจุบัน
- รายงานการประชุมของนิติบุคคล
- บัตรประจำตัวของกรรมการ หรือผู้แทนนิติบุคคล
2. สำเนาโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ( น.ส.3 น.ส.3 ก. น.ส. 3 ข. )
3. หลักฐานการได้มาของที่ดินที่ขออนุญาต
- สัญญาจะซื้อจะขาย
- สัญญาวางมัดจำ
- สัญญาซื้อขาย
4. โครงการประกอบด้วย ชื่อผู้ขอทำการค้าที่ดิน ที่อยู่ หรือที่ตั้งของสำนักงานที่ดินที่ขอทำการค้าที่ดิน วิธีดำเนินการ การปรับปรุงที่ดิน การจัดให้มีสาธารณูปโภค การจัดให้มีบริการสาธารณะ วิธีการจำหน่าย และกำหนดการเริ่มต้นโครงการและเวลาสิ้นสุด
5. แผนผังของที่ดินที่จะขาย หรือแบ่งขาย และแผนผังสังเขปแสดงตำแหน่งของที่ดิน
6. ค่าธรรมเนียม
- ค่าคำขอรายละ 500 บาท
- ค่าอนุญาตไร่ละ 20 บาท เศษของไร่คิดเป็นหนึ่งไร่

ขายที่ดินจังหวัดเชียงใหม่

ขายที่ดิน

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หลักฐานการขอจดทะเบียน ที่ดิน

หลักฐานการขอจดทะเบียน ที่ดิน


บุคคลธรรมดา


โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ทะเบียนบ้าน

หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล

ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า

มรณบัตรคู่สมรส

หนังสือยินยอมให้ทำนิติกรรมของคู่สมรส

ถ้ามีการแปลงสัญชาติ ให้นำหลักฐานการแปลงสัญชาติมาแสดง

ห้างหุ้นส่วนและบริษัท


โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

ข้อบังคับของนิติบุคคล

หนังสือบริคณห์สนธิ และวัตถุประสงค์

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น กรณีบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน จำกัด

แบบรับรองรายการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนแล้ว

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลไทยที่ถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด ผู้ขอ

บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และตัวอย่าง ลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคล

รายงานการประชุมนิติบุคคล

วัด


หลักฐานหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดของกรมการศาสนา

หลักฐานประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องตั้งวัดในพระพุทธศาสนาหรือสำนักสงฆ์

หลักฐานการแต่งตั้งเจ้าอาวาสหรือผู้รักษาการแทน

หลักฐานการเลื่อนสมณศักดิ์เจ้าอาวาส (ถ้ามีการเลื่อนสมณศักดิ์)

หลักฐานการได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

ต้องแสดงบัญชีจำนวนที่ดินของวัดที่มีอยู่ก่อนแล้วทั้งหมด พร้อมทั้งนำ หนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดิน ที่มีอยู่แล้วทุกแปลง ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย

ต้องแสดงจำนวนพระภิกษุสามเณร

มูลนิธิเกี่ยวกับคริสต์จักร


หนังสืออนุญาตให้จัดตั้งมูลนิธิ

บัญชีมูลนิธิ (แบบ ม.น.2) ซึ่งระบุรายชื่อกรรมการด้านหลัง ตั้งแต่ฉบับแรก ฉบับที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้าย

ข้อบังคับ หรือตราสารการก่อตั้งมูลนิธิ

รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิซึ่งลงมติเกี่ยวกับที่ดินแปลงที่จะขอได้มา หรือลงมติเกี่ยวกับที่ดินแปลงที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในที่ดิน หรือลงมติเกี่ยวกับที่ดินแปลงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อที่และเจตนาของผู้โอนใน การขอได้มาซึ่งที่ดินในกรณีรัฐมนตรีฯ อนุญาตให้มูลนิธิฯ ได้มาซึ่งที่ดินแล้ว

หนังสือมอบอำนาจของมูลนิธิ (ถ้ามี)

ต้องแสดงบัญชีจำนวนที่ดินของมูลนิธิฯ ที่มีอยู่ก่อนแล้วทั้งหมด พร้อมทั้งนำหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินที่มีอยู่แล้วทุกแปลง ไปแสดงต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ด้วย

ใบอนุญาตให้จัดตั้งสุสาน (กรณีขอได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นสุสาน)

มัสยิดอิสลาม


ทะเบียนมัสยิด (แบบ ม.อ.2)

ประกาศฯ แต่งตั้งอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น

ประกาศฯ แต่งตั้งกรรมการมัสยิด

รายงานการประชุมกรรมการมัสยิด และมอบหมายให้ผู้ใดเป็นผู้ทำการแทน ซึ่งลงมติเกี่ยวกับที่ดินแปลงที่จะขอได้มาหรือลงมติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเจตนาในการขอได้มาซึ่งที่ดินระหว่างเสนอเรื่องต่อรัฐมนตรีฯ

หนังสือมอบอำนาจของคณะกรรมการมัสยิด (ถ้ามี)

ต้องแสดงบัญชีจำนวนที่ดินของมัสยิดฯ ที่มีอยู่ก่อนแล้วทั้งหมด พร้อมทั้งนำหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินที่มีอยู่แล้วทุกแปลง ไปแสดงต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ด้วย

ใบอนุญาตให้จัดตั้งสุสาน (กรณีขอได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นสุสาน)


ขายที่ดินจังหวัดเชียงใหม่

ขายที่ดิน

คำแนะนำเบื้องต้นในการไปสำนักงานที่ดิน

คำแนะนำเบื้องต้นในการไปสำนักงานที่ดิน


คำแนะนำเบื้องต้นในการไปติดต่อสำนักงานที่ดิน


1. ก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดิน ต้องเตรียมเอกสารหลักฐานให้พร้อม รายละเอียดเอกสารหลักฐานในการติดต่อแต่ละประเภท จะอยู่ในหัวข้อประเภทของการติดต่อ เช่น การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์และ การรังวัดประเภทต่าง ๆ

2. ก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดินท่านควรทราบว่าเอกสารสิทธิของท่าน เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานที่ดินใด และตั้งอยู่ที่ใด เพื่อไม่ให้ไปผิดสถานที่

3. เตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกรรมที่จะต้องชำระตามกฎหมายให้พร้อม

4. ค่าใช้จ่ายในการติดต่อราชการเจ้าหน้าที่จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง

5. ทุกสำนักงานที่ดินส่วนใหญ่จะมีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เมื่อท่านไปติดต่องานสำนักงานที่ดิน ลำดับแรกขอให้ท่านไปที่ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของสำนักงานที่ดิน เพื่อขอคำแนะนำ ตรวจสอบหลักฐานเอกสารและรับบัตรคิว

6. การให้บริการเป็นไปตามลำดับคิว

7. เมื่องานของท่านสำเร็จแล้ว ขอให้ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารสิทธิ เช่น ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำนวนเนื้อที่ในโฉนดที่ดิน และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ท่านเตรียมมาว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง

8. ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินงานในแต่ละประเภทจะมีประกาศไว้ที่สำนักงานที่ดิน หากท่านเห็นว่างานล่าช้าเกินกว่าปกติ หรือไม่ได้รับความสะดวก หรือมีข้อสงสัยขอให้สอบถามได้ที่เจ้าหน้าที่ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดได้ตามแต่กรณี หากงานของท่านไม่มีปัญหาข้อขัดของอื่นใดจะเสร็จในเวลามาตรฐานที่ประกาศไว้

9. หากมีปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรมในการให้บริการ โปรดแจ้งกรมที่ดินได้โดยส่งข้อร้องเรียนทางไปรษณียบัตร ถึงกรมที่ดิน ตู้ ปณ. 11 ปณฝ. วัดเลียบ กทม. 10200 หรือ โทร. 222-2837



คำแนะนำเบื้องต้นในการไปติดต่อสำนักงานที่ดิน เพื่อขอทำการรังวัดที่ดินประเภทต่าง ๆ


ในช่วง พ.ศ. 2532-2536 ประชาชนผู้มาติดต่อสำนักงานที่ดินเพื่อขอทำการรังวัดที่ดินประเภทต่าง ๆ เช่น การออกโฉนดที่ดิน การรังวัดแบ่งแยก การสอบเขตที่ดิน จะประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น


1. ปัญหาคิดนัดรังวัดที่มีระยะยาว โดยสำนักงานที่ดินบางแห่งมีคิวนัดรังวัดเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปีเศษ

2. ปัญหา ค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดิน สำนักงานที่ดินแต่ละแห่งไม่มีมาตรฐานในการกำหนดค่ามัดจำรังวัดทั้งนี้ขึ้น อยู่กับดุลยพินิจของผู้กำหนดค่าใช้จ่ายในการรังวัด เช่น ในกรณีที่เนื้อที่เท่ากัน สำนักงานที่ดินบางแห่งจะให้ทำการรังวัดเป็นเวลา 2 วัน แต่บางแห่งจะให้ทำการรังวัดเพียงวันเดียว จึงก่อให้เกิดความสับสนต่อประชาชนผู้มาติดต่อ หรือในกรณีที่กำหนดค่ามัดจำรังวัดไว้แล้ว ช่างผู้ทำการรังวัดได้เบิกค่าใช้จ่ายไปหมดแล้ว แต่เรื่องรังวัดยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ทำให้เกิดปัญหาตามมา นั้นคือประชาชนผู้มาติดต่อรังวัดจะเสียค่ามัดจำเพิ่ม ทั้งที่เรื่องรังวัดยังไม่แล้วเสร็จ โดยบางรายอาจจะต้องเสียเงินมัดจำถึงจำนวน 2-3 ครั้ง ทำให้ประชาชนผู้มาติดต่อต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก


กรมที่ดินได้หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยมุ่งหวังว่าจะก่อให้เกิดผลดีด้านต่าง ๆ หลายประการดังนี้


1. เพื่อแก้ไขปัญหางานรังวัดค้างและลดระยะเวลาในการนัดรังวัด

2. เพื่อแก้ไขปัญหาอัตรากำลังช่างรังวัดที่มีไม่เพียงพอกับปริมาณงาน

3. ทำให้เกิดขวัญกำลังใจแก่ช่างรังวัดผู้ปฏิบัติงาน

4. เพือ ตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับการรังวัดของประชาชนให้ได้รับบริการที่รวดเร็ว สะดวกยิ่งขึ้นโดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจต่อการบริการ


การกำหนดค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดินในลักษณะเหมาจ่าย เป็นแนวทางหนึ่งจากหลาย ๆ แนวทางที่กรมที่ดินนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรังวัดเดิม มีหลักเกณฑ์การคิดค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและเบิกจ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง โดยยึดถือตามอัตราที่ทางราชการกำหนด แต่ค่าใช้จ่ายที่คิดในลักษณะเหมาจ่ายนี้จะมีหลักเกณฑ์ ดังนี้


1. เพื่อ ให้ประชาชนเสียค่าใช้จ่ายในการรังวัดเพียงครั้งเดียว โดยเรื่องรังวัดรายใดที่ช่างรังวัดไปทำการรังวัดแต่ไม่แล้วเสร็จ จะไม่ให้มีการเบิกจ่าย

2. เพื่อ ทำให้การกำหนดจำนวนวันทำการรังวัด และการคิดค่าใช้จ่ายในการรังวัดเป็นมาตรฐานเดียวกันในการกำหนดจำนวนวันทำการ รังวัดและเงินค่าใช้จ่ายในการรังวัดเดิม สำนักงานที่ดินบางแห่งได้กำหนดไว้สูงเกินความจำเป็น กรมที่ดินจึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา เพื่อให้การกำหนดจำนวนวันทำการรังวัดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันจะมีผลต่อการกำหนดค่าใช้จ่ายในการรังวัด เช่น กรณีเนื้อที่ที่ที่ทำการรังวัดมีเนื้อที่ไม่เกิน 5 ไร่ ให้ทำการรังวัดได้จำนวน 1 วัน ตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท 0706/ว 30708 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2540 สำหรับค่าใช้จ่ายในการรังวัด เช่น กรณีค่าพาหนะเดินทางให้จังหวัดตั้งคณะกรรมการกำหนดค่าพาหนะสูงสุดไม่เกินวัน ละ 800 บาท โดยเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดินหรือพิสูจน์สอบสวนหรือตรวจ สอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ พ.ศ.2542 โดยให้สำนักงานที่ดินกำหนดค่าใช้จ่ายแต่ละพื้นที่ แล้วจัดทำบัญชีกำหนดจำนวนเงินมัดจำรังวัดปิดประกาศให้ประชาชนทราบ ตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท 07067/ว 01082 ลงวันที่ 14 มกราคม 2541 เรื่อง การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินเฉพาะราย ซึ่งสำนักงานที่ดินจะเรียกค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ประกาศของกระทรวงไม่ได้ เช่น ประกาศกรุงเทพมหานคร ประกาศจังหวัดสุโขทัย ประกาศจังหวัดนราธิวาสเป็นต้น

3. เพื่อ ทำให้เกิดความโปร่งใสในการให้บริการ โดยค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดิน ผู้ขอรังวัดต้องชำระที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น และต้องมีใบเสร็จรับเงินตามจำนวนเงินที่ชำระ ซึ่งกรมที่ดินได้มีหนังสือที่ มท 0607/ว 31736 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2539 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจห้ามการรับเงินเป็นการส่วนตัวและเงินอื่นของสำนักงานที่ดิน โดยถ้าช่างรังวัดหรือคนงานไปเรียกเก็บเงินในที่ดินจะถือว่าเป็นการกระทำผิด กฎหมาย

4. เพื่อ ทำให้เกิดความรวดเร็วในการบริการ การคิดค่าใช้จ่ายในลักษณะเหมาจ่ายนี้ กรณีที่ที่ดินที่ขอทำการรังวัดมีเนื้อที่มากกว่า 5 ไร่ ซึ่งตามมาตรฐานแล้วจะต้องทำการรังวัดมากกว่า 1 วัน แต่ถ้าช่างผู้ทำการรังวัดสามารถทำการรังวัดได้แล้วเสร็จภายในวันเดียว ผู้ทำการรังวัดก็สามารถที่จะเบิกค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้ อันจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีกำลังใจในการปฏิบัติงาน และนำไปสู่การบริการที่รวดเร็ว ทำให้สามารถแก้ปัญหาคิดนัดรังวัดระยะยาวและการขาดแคลนอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน


นอกจากนี้กรมที่ดินยังมีแนวทางที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ อีก ทำให้ประชาชนเกิดความถึงพอใจในการรับบริการ เช่น


1. เรื่อง การแนะนำประชาชน ตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท0706/ว 07699 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2541 และหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท 0706/ว 03404 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เจ้าหน้าที่ได้อธิบายและให้คำแนะนำแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงขึ้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งหน้าที่ของผู้ขอรังวัด อันจะทำให้การรังวัดสำเร็จได้รวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ขอรังวัด

2. เรื่อง การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่ดินในการให้บริการประชาชน 15 ประการ

3. เรื่อง การรังวัดที่ดิน เพื่อป้องกันมิให้ช่างรังวัดบางคนร่วมกับเจ้าของที่ดินใช้ความรู้และช่อง ว่างของระเบียบกฎหมาย นำเอาที่สาธารณประโยชน์ เช่น ทางสาธารณประโยชน์ ลำกระโดงสาธารณะประโยชน์ มารวมกับที่ดินที่ขอรังวัด ซึ่งจะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน กรมที่ดินจึงให้แจ้งเจ้าของที่ดินซึ่งอยู่คนละฟากทางสาธารณประโยชน์ ฯลฯ มาระวังชี้แนวเขตและลงชื่อร่วมเป็นพยานในการรังวัดที่ดินด้วย


ขายที่ดินจังหวัดเชียงใหม่

ขายที่ดิน

ประวัติสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่

สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ เดิมเรียกว่าหอทะเบียนที่ดินจังหวัด เปิดทำการเป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2479 มีสถานที่ทำการอยู่ห้องชั้นล่างด้านใต้ของตึกศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ( หลังเดิม ) ต่อมาเมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ใช้บังคับ จึงได้มาเช่าที่ดินซึ่งเป็นศาสนสมบัติวัดจอกแก้ว (ร้าง ) มีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 49 ตารางวา เพื่อสร้างอาคารสำนักงานที่ดิน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2498 ต่อมาได้ย้ายสำนักงานไปอยู่รวมกับศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ในบริเวณศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2538
มีสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา 12 สาขา 2 ส่วนแยก คือ
1. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง เปิดทำการเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2530 รับผิดชอบ อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด อำเภอดอยเต่า อำเภออมก๋อย และอำเภอดอยหล่อ
2. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาดอยสะเก็ด เปิดทำการเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2530 รับผิดชอบอำเภอดอยสะเก็ด
3. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาแม่ริม เปิดทำการเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2530 รับผิดชอบ อำเภอแม่ริม
4. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาสันกำแพง เปิดทำการเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2530 รับผิดชอบ อำเภอสันกำแพง และอำเภอแม่ออน
5. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาสันป่าตอง เปิดทำการเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2530 รับผิดชอบ อำเภอสันป่าตอง และอำเภอแม่วาง
6. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาหางดง เปิดทำการเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2530 รับผิดชอบ อำเภอหางดง
7. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาแม่แตง เปิดทำการเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2530 รับผิดชอบ อำเภอแม่แตง
8. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาสันทราย เปิดทำการเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2530 รับผิดชอบ อำเภอสันทราย
9. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง เปิดทำการเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 รับผิดชอบ อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ
10. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาพร้าว เปิดทำการเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 รับผิดชอบ อำเภอพร้าว
11. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาเชียงดาว เปิดทำการเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2540 รับผิดชอบ อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง
12. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาสารภี เปิดทำการเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 รับผิดชอบ อำเภอสารภี
13. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง ส่วนแยกแม่แจ่ม เปิดทำการเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2547 รับผิดชอบ อำเภอแม่แจ่ม
14. สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาแม่ริม ส่วนแยกสะเมิง เปิดทำการเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2547 รับผิดชอบ อำเภอสะเมิง
สำนักงานที่ดินอำเภอรวม 7 อำเภอ ดังนี้
1. สำนักงานที่ดินอำเภอดอยเต่า
2. สำนักงานที่ดินอำเภอฮอด
3. สำนักงานที่ดินอำเภออมก๋อย
4. สำนักงานที่ดินอำเภอแม่วาง
5. สำนักงานที่ดินอำเภอเวียงแหง
6. สำนักงานที่ดินอำเภอไชยปราการ
7. สำนักงานที่ดินอำเภอแม่อาย

ขายที่ดินจังหวัดเชียงใหม่

ขายที่ดิน

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่

สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ (50300)
โทร. 0-5389-0484-6 โทรสาร 0-5389-0487 เบอร์ มท. (822) 25454, 25495
E-mail Address : chiangmai@dol.go.th

สถานที่ตั้ง (แผนที่) สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่

อาคารศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เขตพื้นที่รับผิดชอบ

อำเภอเมือง เชียงใหม่
เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด

โทร. 0-5389-0484 - 6 ต่อ 124

หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ

โทร. 0-5389-0484 - 6 ต่อ 102
หัวหน้าฝ่ายทะเบียน

โทร. 0-5389-0484 - 6 ต่อ 103
หัวหน้าฝ่ายรังวัด

โทร. 0-5389-0484 - 6 ต่อ 104
หัวหน้าฝ่ายควบคุมและรักษาหลักฐานที่ดิน

โทร. 0-5389-0484 - 6 ต่อ 110

การขายที่ดินเปล่า

การขายที่ดินเปล่าหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะได้รับยกเว้นอากรแสตมป์

ก็หวังว่าบุคคลธรรมดาที่ได้ขายที่ดิน เปล่าหรือได้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจะได้ทราบในเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษี ที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร ในส่วนของผู้ที่จะซื้อก็นำไปใช้ต่อรองราคาซื้อขายกรณีที่ตนเองรับเป็นผู้ ชำระภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ได้

บทความโดย : สมชาย ชูเกตุ

ที่มา : โพสต์ทูเดย์ วันที่ 31 กรกฎาคม /14 และ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552